ฟาร์มไข่ไก่ออร์แกนิคของเราผ่านการรับรองมาตรฐาน EU, NOP & USDA (USA) และการรับรองจากกรมปศุสัตว์ เราปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายมลพิษ อย่างเคร่งครัด เราเลี้ยงไก่ที่ฟาร์มด้วยอาหารออร์แกนิค 100% และถือเป็นฟาร์มไข่ไก่ออร์แกนิคแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานออร์แกนิค EU, NOP & USDA (USA)
มาตรฐานการผลิตไข่ไก่ออร์แกนิค EU, NOP & USDA (USA)
หัวข้อ | EU, NOP & USDA (USA) |
มาตรฐานการจัดการฟาร์มทั่วไป | 1. มีทุ่งหญ้าให้ไก่ไข่คุ้ยเขี่ยหาอาหารแบบอิสระ
2. ไม่ผูกหรือล่ามสัตว์ใด ๆ ทั้งสิ้น 3. ไม่ใช้สารเคมี ยา หรือฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตทุกชนิดในไก่ |
โรงเรือนและพื้นที่เกษตรกรรม | 1. จำนวนสัตว์ที่ปล่อยออกมาในทุ่งหญ้าและนอกโรงเลี้ยงต้องเหมาะสมกับพื้นที่ และไม่เสี่ยงต่อการทำให้เกิดมลพิษในดินและน้ำ
2. จำนวนไก่สูงสุดที่เลี้ยงคือ 3,000 ตัว/เชียร์ 3. โรงเรือนแข็งแรง ทนทาน สามารถปกป้องสัตว์จากแดดและฝนได้ และต้องไม่ใช้กรง ต้องมีรัง 1 รังต่อไก่ 4 ตัว แต่ละรังทำจากใบตะไคร้ พื้นที่วางไข่ต้องมีแกลบหนาราว 3-5 นิ้ว และต้องไม่เฉอะแฉะเป็นดินโคลน 4. ปล่อยไก่ให้เดินเล่นได้อย่างอิสระ ไก่แต่ละตัวมีพื้นที่ปลูกหญ้านาเปียร์ หรือหญ้าแองโกล่าเอาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ตรม.เพื่อใช้เป็นแหล่งอาหารทางเลือกขนาดประตูเข้า-ออก ระหว่างโรงเลี้ยงกับสนามหญ้า ความยาวประตูต้องไม่น้อยกว่า 4 เมตร ต่อพื้นที่ 100 ตรม. |
ระบบการเลี้ยงสัตว์ | 1. ไก่ที่เลี้ยงจะต้องไม่ถูกตัดปาก
2. แหล่งอาหารพืชสดมาจากแหล่งผลิตเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน USDA / EU COR แหล่งอาหารภายนอกฟาร์ม วัตถุดิบทุกชนิดเป็นไปตามมาตรฐาน USDA / EU ทั้งหมด 3.ป้องกันไม่ให้สารเคมีเข้าไปในบริเวณที่ไก่อินทรีย์วางไข่ |
แหล่งที่มาของสัตว์ | 1. พ่อพันธุ์แม่พันธุ์จากแหล่งทั่วไปนำมาทดแทนสัตว์เก่าหรือขยายขนาดฟาร์ม ได้เพียง 10% ของสัตว์โตเต็มวัย |
การผสมพันธุ์และขยายพันธุ์สัตว์ | 1. ผสมตามธรรมชาติ
2.ไม่มีการทำผสมเทียม 3. ไม่มีการถ่ายโอนและการโคลนตัวอ่อน 4. มีการเก็บบันทึกไก่แต่ละรุ่น |
การจัดการอวัยวะสัตว์ | 1. ไม่ตัดปากไก่
2. ไม่ตัดปีกหรือขนปีกที่สำคัญ |
อาหารสัตว์ | 1. มีการจัดทำแผนการให้อาหารสัตว์ และนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบได้ตลอดเวลา
2. อาหารที่มาจากภายนอกฟาร์มได้รับการรับรองจาก EU, NOP & USDA (USA) 3. ไม่ใช้สารต่อไปนี้เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์: 3.1) ผลิตผลพลอยได้จากสัตว์ที่อยู่ในสปีชีส์เดียวกัน 3.2) ผลิตผลพลอยได้จากอาหารสัตว์สำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง (เช่นจากโรงฆ่าสัตว์) 3.3) สิ่งขับถ่ายทุกชนิด 3.4) อาหารที่สกัดด้วยตัวทำละลาย (เช่น เฮกเซน) หรือการเติมสารเคมี 3.5) กรดอะมิโนสังเคราะห์ 3.6) สารประกอบยูเรียและไนโตรเจนที่สังเคราะห์ขึ้น 3.7) สารเคมีสังเคราะห์เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต 3.8) สารสังเคราะห์ที่กระตุ้นความอยากอาหาร 3.9) วัตถุกันเสียทุกรูปแบบ ยกเว้นใช้เป็นสารช่วยในการแปรรูป 3.10) สีสังเคราะห์ 3.10.1) ใช้วิตามิน ธาตุอาหารรอง และอาหารเสริมที่ได้มาจากธรรมชาติ 3.10.2) ใช้วิตามินและอาหารเสริมที่มีธาตุอาหารรองจากธรรมชาติที่ผ่านการรับรองได้ ในกรณีที่ไม่สามารถหาจากแหล่งธรรมชาติได้ในปริมาณและคุณภาพที่เพียงพอ 3.10.3) ไม่ใช้สารเติมแต่งและสารช่วยในการแปรรูป เช่น อาหารสัตว์ที่หมักโดยใช้แบคทีเรีย เชื้อรา และเอนไซม์ และผลิตผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมอาหาร (เช่น กากน้ำตาล) เป็นต้น 3.10.4) ส่วนประกอบของอาหาร วัตถุเติมแต่งอาหาร และสารแปรรูปในอาหารสัตว์ทั้งหมดไม่ได้มาจากกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม |
การจัดการสุขภาพสัตว์ | 1. แยกไก่ที่ป่วยและไก่ที่แข็งแรงออกจากกันเพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน กักกันไก่ป่วยเพื่อไม่ให้ไก่ที่แข็งแรงติดเชื้อ
2. จัดเตรียมโปรแกรมวัคซีนสำหรับไก่ รวมถึงวัคซีนโรคมาเร็กซ์ โรคนิวแคสเซิล โรคหลอดลมอักเสบ โรคแกมบาโร ไข้ทรพิษ อหิวาตกโรค และพยาธิ โดยให้เป็นไปตามข้อกำหนดของวัคซีนที่อนุญาตให้ใช้ได้ |
ขนาดบรรจุ
กล่องละ 6 ฟอง น้ำหนัก 300 กรัมต่อกล่อง
กล่องละ 10 ฟอง น้ำหนัก 500 กรัมต่อกล่อง
อายุการเก็บรักษา
15 วัน