หยิน-หยาง กับสมดุลของอาหาร
เมื่อเกิดความเชื่อเรื่องอาหารที่มี ฤทธิ์เย็น(หยิน) – ร้อน(หยาง) ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสมบัติทางเคมีขององค์ประกอบในอาหาร เราจึงจะมีอธิบายกันว่าจากตำราแพทย์จีนจะสามารถอธิบายออกมาเป็นวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร
อาหารที่มีฤทธิ์เย็น (หยิน:Yin)
ทางแพทย์จีน ได้มีการระบุว่าอาหารที่มีฤทธิ์เย็น จะสามารถลดความร้อนในร่างกาย ลดอาหารร้อนในได้ แต่ถ้าหากทานมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดอาการชาที่มือเท้า และทำให้มีอาการปวดเมื่อย ไม่มีแรง โดยอาหารในกลุ่มนี้ได้แก่ อาหารที่มีรสชาติเค็ม ขม เปรี้ยว เช่น กล้วย ส้ม สาลี่ มะพร้าว ถั่วฝักยาว แตงกวา มะเขือเทศ บวบ ขึ้นฉ่าย ข้าวโพด และอาหารที่ผ่านการปรุงด้วยกรรมวิธีต้ม นึ่ง ตุ๋น
อาหารที่มีฤทธิ์ร้อน (หยาง:Yang)
คืออาหารที่ไปกระตุ้นเลือดลม สร้างพลังงานและเพิ่มความกระปรี่กระเปร่า ได้แก่อาหารที่ให้ความเผ็ดร้อน หวาน เช่น ขิง กระเทียม พริก ผักชี มะเขือยาว พริกไท หอม งาดำ รวมทั้งอาหารที่ผ่านการปรุงด้วยวิธีทอด ย่าง รมควันอีกด้วย
ซึ่งการทานอาหารแบบจีนนั้นได้มีคำกล่าวไว้ว่า “การทานอาหารนั้นควรมีสมดุลหยิน-หยางกัน และควรเหมาะกัยร่างกายของแต่ละบุคคลว่าเป็นหยิน-หยางแค่ไหน ดังนั้นแต่ละบุคคลก็ย่อมจะมีอาหารที่มีความเหมาะสมแตกต่างกันออกไป” ซึ่งในเชิงวิทยาศาตร์จะอธิบายได้ว่า แต่ละคนมีสมดุลเชิงชีวเคมี (Biochemical Balance) ของ Antioxidation-Oxidation ที่แตกต่างกัน จึงควรทานให้เหมาะสม
นอกจากนั้นยังมีบทความ When east meets west: the relationship between yin-yang and antioxidation-oxidation ที่ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ด้านความสามารถเชิงรีดอกซ์ (Redox Regulation) ที่ตรงข้ามกัน โดยอาหารที่มีฤทธิ์เย็น (Yin) คืออาหารที่มีสาร Antioxidants เป็นหลัก ในขณะที่อาหารที่มีฤทธิ์ร้อน (Yang) เป็นอาหารที่มีสารกลุ่ม Pro-oxidations เป็นหลัก
ซึ่งอะไรคือ Redox Regulation และคำว่า Antioxidation ก็เคยได้ยินมานาน แต่ Pro-oxidation คืออะไร ในบทความหน้าเราจะมาขยายเนื้อความกันต่อค่ะ